แอลเอชแบงก์ เมินปล่อยกู้บ้านต่ำ3ล.

แอลเอชแบงก์ เมินปล่อยกู้บ้านต่ำ3ล.

"แอลเอชแบงก์"ชงแผนบริหารความเสี่ยงเข้าบอร์ด เมินปล่อยกู้สินเชื่อบ้านรายเล็ก 2-3 ล้านบาท และกลุ่มเอสเอ็มอี หลังเสี่ยงเป็นเอ็นพีแอลสูง มุ่งเน้นกลุ่ม ราคา 4 ล้านบาทขึ้นไป ชี้สินเชื่อบ้านไม่มีการเติบโตมากว่า 3 ปี หลัง ตลาดแข่งดุ ไม่กังวลพอร์ตสินเชื่อกระจุกตัวที่รายใหญ่ 70% เพราะเป็นซินดิเคทโลน

นางสุธารทิพย์ พิสิฐบัณฑูรย์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานพัฒนาสินเชื่อและบริหารความเสี่ยง ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) หรือ แอลเอชแบงก์ เปิดเผยว่า การบริหารความเสี่ยงของธนาคารในปีนี้ มุ่งเน้นการรักษาคุณภาพสินเชื่อ โดยบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ หรือเอ็นพีแอลอยู่ให้อยู่ใน ระดับที่ต่ำกว่า 2% จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.88% โดยระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอี และปรับพอร์ตสินเชื่อบ้าน เพราะเป็นกลุ่มที่เอ็นพีแอลสูง และยังปรับขึ้นอยู่ ส่วนสินเชื่อบ้านนั้นจะเสนอแผนต่อคณะกรรมการไม่ปล่อยสินเชื่อ กลุ่มลูกค้ากู้ซื้อบ้านราคาที่ต่ำกว่า 4 ล้านบาท เพราะจากข้อมูลสถิติของธนาคารเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะลูกค้าที่ซื้อบ้านราคา 2-3 ล้านบาท จากภาระหนี้ที่มีสูง ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้สูงถึง 80% ซึ่งสูงไป ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อ ได้เมื่อมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ ไม่เกิน 70% "ปีนี้เป็นปีแรกที่ธนาคารจะไม่ทำสินเชื่อบ้านรายย่อย ไม่เล่นในกลุ่ม ที่ซื้อบ้านต่ำกว่า 4 ล้านบาท ยกเว้น ลูกค้ารีไฟแนนซ์ เพราะเห็นประวัติ การชำระ ส่วนหนึ่งเพราะมีความเสี่ยงสูง แม้จะมีคำยื่นขอกู้เข้ามาจำนวนมาก แต่ก็ไม่ผ่าน เพราะมีภาระหนี้สูง

ขณะที่การผิดนัดชำระรอบ 1 ปี ขยับขึ้นมาเป็น 1% ไม่ควรสูงขนาดนั้น โดยปัจจุบันอัตราการอนุมัติสินเชื่อบ้าน หรือ approve rate อยู่ที่ 40-45% เท่ากันทุกปี แม้ว่าลูกค้าระดับกลาง หรือ กู้ซื้อบ้านราคา 4 ล้านบาทขึ้นไป มาร์จินจะบาง แต่ความเสี่ยงต่ำ อีกทั้งธนาคารยังมีต้นทุนการเงิน ที่ต่ำเพียง 30-40 สตางค์"

ภาพรวมสินเชื่อบ้าน ไม่ได้เติบโตมาหลายปีแล้ว เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาสินเชื่อปล่อยใหม่ติดลบ ทำให้พอร์ต สินเชื่อบ้านที่เคยอยู่ในระดับ 3 หมื่นล้านบาท เมื่อ 3ปีที่ผ่านมา ลดลงมาเหลือ 2.7หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17% ของพอร์ตสินเชื่อรวม  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแข่งขัน สูง สินเชื่อปล่อยใหม่ไม่ทันกับที่ รีไฟแนนซ์ออก สำหรับแนวโน้ม ปีนี้มองว่าสินเชื่อบ้านไม่มีการเติบโต พอร์ตรวมน่าจะอยู่ 2.7 หมื่นล้านบาท สินเชื่อปล่อยใหม่ปีนี้ไม่น่าเกิน 3 พันล้านบาท หรือเฉลี่ยไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อเดือน จากปีก่อนอยู่ที่ 450 ล้านบาท  "เอ็นพีแอลของสินเชื่อบ้านทั้งระบบที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่ม เอสเอ็มอีบุคคล ที่ได้รับผลกระทบ จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นเต็มที่" ในส่วนการบริหารความเสี่ยงเรื่องกระจุกตัวของสินเชื่อรายใหญ่ ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 70% ของ สินเชื่อโดยรวมนั้น นอกจากเรื่อง SLL ที่ธนาคารปล่อยก็ต่อกลุ่มธุรกิจ ได้ไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทแล้ว ธนาคารยังไม่ได้เป็นหลักในการปล่อยกู้ แต่เป็นซินดิเคทโลน ที่เข้าไปร่วมกับธนาคารอื่น

ขณะที่ประเภทสินเชื่อก็มีทั้ง term loan ครึ่งหนึ่ง และ working cap ครึ่งหนึ่ง ความเสี่ยงน้อยกว่า


ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

แสดงความคิดเห็น

Designed by OddThemes | Distributed by Gooyaabi Templates