LPN ย้ำลูกค้าสบายใจกม.คุมทุกตึกรับแรงสั่น

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยอาคารชุดคอนโดมิเนียมรายใหญ่ของประเทศ กล่าวว่า กรณีการเกิดเหตุแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนของการเกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหวในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแรงสั่นสะเทือนดังกล่าวขยายตัวมาถึงประเทศไทยได้ เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดิน ไหว และแรงสั่นสะเทือนที่ได้รับค่อนข้างน้อย ซึ่งสามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้เฉพาะผู้อยู่อาศัยอาคารสูงเท่านั้น


ทั้ง นี้ ความกังวลด้านความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในอาคารสูงที่เกิดขึ้นตามกระแสข่าว ซึ่งส่งผลให้เกิดความกังวลในกลุ่มผู้ซื้อห้องชุดดังกล่าว นั้นบริษัทยืนยันว่าปัจจุบันผู้บริโภคที่อยู่อาศัยในอาคารสูงที่มีการขอ อนุญาตก่อสร้างตามระเบียบ และกฎหมายควบคุมอาคารชุดนั้น สามารถอยู่อาศัยในห้องชุดอาคารสูงได้อย่างปลอดภัยแน่นอน เนื่องจากในการข้อกำหนดในการขออนุญาตก่อสร้าง กฎหมายควบคุมอาคารชุดนั้นมีการกำหนดว่าต้องมีการออกแบบให้โครงสร้างอาคาร สามารถต้านรับแรงสั่นไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในระดับที่กฎหมายกำหนดไว้ใน แต่ละพื้นที่เขตการก่อสร้างอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว

"กรณี ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นอาจ สร้างความกังวลแก่ผู้อยู่อาศัยในอาคารสูงในประเทศไทย แต่ยืนยันว่าแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวในประเทศไทยนั้นอยู่ในระดับ ต่ำ ไม่สามารถนำเหตุการณ์ที่เกิดในญี่ปุ่นมาเปรียบเทียบได้ แต่อย่างไรก็ตามหากหน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านงานก่อสร้าง มีข้อกังวลและจะมีการแก้ไขข้อกำหนดในเรื่องการออกแบบโครงสร้างอาคารในอนาคต ให้สามารถรองรับแรงสั่นไหวในอนาคตให้สูงกว่าในปัจจุบันบริษัทก็พร้อมที่จะ ดำเนินการ แต่ก็ต้องบริษัทก็พร้อมที่จะดำเนินการ แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าการออกแบบโครงสร้างอาคารที่เผื่อการรองรับการสั่นไหว ของแผ่นดินที่สูงขึ้นก็จะกระทบต่อต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นได้"

ด้านนายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง เลขาธิการ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ด้านความปลอดภัยในการอยู่อาศัยในอาคารสูงขนาดใหญ่นั้น ถือว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่งเพราะมีข้อกำหนดตามกฎหมายการก่อสร้างอาคารที่ กำหนดให้มีการออกแบบอาคารให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ ระดับหนึ่ง แต่จะกำหนดไว้ให้รองรับได้กี่ริกเตอร์นั้นขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในแต่ละเขต พื้นที่ซึ่งมีความสั่นไหวแตกต่างกันไป

ทั้งนี้อาคารที่มีการขออนุญาตก่อสร้างตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารชุดนั้นไม่น่าเป็นห่วงเพราะมี การออกแบบให้รองรับแรงสั่นไหวตามข้อกำหนดในกฎหมายอยู่แล้ว แต่อาคารที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มอาคารสูงที่มีการก่อสร้างก่อนปีที่มีการ ประกาศบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารชุด เนื่องจากไม่ได้มีการออกแบบให้รองรับแรงสั่นสะเทือนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น กลุ่มอาคารที่มีการก่อสร้างการประกาศบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคารชุด จึงเป็นกลุ่มที่มีความสุ่มเสี่ยงหากเกิดกรณีแผ่นดินไหวขึ้น

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ผู้บริหารของ กทม. ได้เร่งตรวจสอบความเสียหายของตึกสูงต่าง ๆกว่า 60 อาคาร เช่น ตึกใบหยก โรงแรมดุสิตธานี ศูนย์การค้ามาบุญครอง รวมถึงอาคารพาณิชย์ในย่านสาทร สีลมและ ถ.วิทยุเป็นต้น แต่ก็ไม่พบถึงความผิดปกติ ทั้งนี้จากการตรวจสอบอาคารในกรุงเทพมหานครนั้น พบว่า มี 12 อาคารที่ทาง กทม.ต้องเข้าไปตรวจสอบเป็นพิเศษ เพราะอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน ย่านธุรกิจ และที่สาธารณะ แต่ไม่ได้หมายความว่าตึกเหล่านี้ไม่ปลอดภัยโดยตึกทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ 1. อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 30 ชั้น 2.อาคารชุดเฟิร์สทาวเวอร์22 ชั้น 3.ศูนย์การค้ามาบุญครอง 29 ชั้น4.ออลซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ 53 ชั้น จำนวน1 หลัง 5.อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น6.อาคารชัยทาวเวอร์ 30 ชั้น 7.อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น 8.อาคารชินวัฒน์ 3 32 ชั้น9.อาคารไอทาวเวอร์ ตึก 32 ชั้น10.อาคารธนาคารทหารไทย ตึก 34 ชั้น 11.อาคารซันทาวเวอร์ จำนวน 40 ชั้น 1 หลัง 12. อาคารซันทาวเวอร์ จำนวน 34 ชั้น 1 หลัง

โดยนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2550 ระบุชัดเจนว่าอาคารสูงกว่า 23 เมตร หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางเมตร โครงสร้างของอาคารจะต้องสามารถรับแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวได้ ตั้งแต่ 5 ริกเตอร์ขึ้นไป รวมทั้งตัวอาคารจะต้องมีสิ่งยึดกับกระจกหรือโครงสร้างภายนอก เพื่อป้องกันการปลิวจากแรงลม ซึ่งอาคารที่สร้างก่อน ปี 2550 มีจำนวนกว่า 2,000 แห่ง ที่มีความเสี่ยง หากได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

ทั้ง นี้ ทาง กทม.จะดำเนินการร่างพ.ร.บ.การแก้ไขอาคารเก่า และเพิ่มในส่วนของการติดตั้งไฟสำรอง และสร้างทางหนีไฟเพื่อเคลื่อนย้ายประชาชนได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเตรียมเสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้พิจารณาอนุมัติต่อไป

ทางด้านนายจุมพล สำเภาพล ผู้ อำนวยการสำนักการโยธา กล่าวว่า เดิมทีพื้นที่ในเขต กทม.ไม่ได้เป็นพื้นที่ระวังภัยเหตุแผ่นดินไหว แต่เนื่องมาจากเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ทาง กทม. มีการร่างพ.ร.บ.การสร้างอาคาร ในปี 2550 โดยอาคารสูงจะต้องสร้างให้รับแรงสั่นทะเทือนจากแผ่นดินไหว 5 ริกเตอร์ขึ้นไป แต่ยังเป็นห่วงอาคารและตึกเก่าที่อาจจะได้รับผลกระทบ

สำหรับ มาตรการรับมือแผ่นดินไหวของอาคารสูงในกทม.นั้น นายพรเทพ กล่าวว่า กทม.ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารสูง เพื่อตรวจสอบและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เจ้าของอาคารมีการวางแผนรับมือกับ เหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยในสัปดาห์หน้า

ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ ว่าฯกทม. จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักการโยธา ฝ่ายป้องกันภัย เพื่อประชุมให้มีความพร้อมจะรับมือหากแผ่นดินไหวมีผลกระทบในกทม. ซึ่งอดีตที่ผ่านมาหลายคนเห็นว่ากทม.ไม่ได้อยู่ในแนวแผ่นดินไหว แต่จากนี้ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติอะไรขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม อาคารสูงในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดแผ่นดินไหวในกทม.มีกว่า 2,700 แห่ง และมีตึกที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ 12อาคาร ซึ่งกทม.จะเข้าไปตรวจสอบเป็นพิเศษ เพราะอาคารเหล่านี้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นอาคารที่รู้สึกได้หากมีแผ่นดินไหว ซึ่งกทม.จะเข้าไปตรวจสอบความมั่นคง ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ เบื้องผ่านมาได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว จากนั้นวันนี้ (28 มี.ค) จะส่งเจ้าหน้าที่ชุดใหญ่เข้าไปตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอาคารเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหาย แต่เป็นการตรวจโครงสร้างอาคารเพื่อความมั่นใจของประชาชน

ส่วนอาคารหลายแห่งที่มีการสร้างก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2550 บังคับใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้กฎหมายได้ควบคุมให้อาคารเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อรองรับเรื่อง พายุ เพราะพายุที่จะเกิดขึ้นในกทม.จะมีระดับความรุนแรงไม่มาก ดังนั้นอาคารเหล่านี้มีความสามารถพอที่จะรองรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ได้ เพราะพลังของพายุกับแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในกทม.มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพราะการก่อสร้างอาคารเหล่านี้มีความสามารถส่วนหนึ่งที่จะรองรับคลื่นแผ่น ดินไหวในระดับหนึ่งได้

รายงานข่าวจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ข้อมูลที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล 5 จังหวัดประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานีสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม ในช่วง10 เดือนแรกของปี 2553 พบว่ามีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ทุกประเภทรวม 80,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมีจำนวนหน่วย 72,950 หน่วยกว่า 10% แบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใน กทม.46,800 หน่วย และเขตพื้นที่ปริมณฑล33,200 หน่วย

ทั้งนี้ ในจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่ทั้งหมดในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2553 แบ่งออกเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียม 40,850 หน่วย บ้านเดี่ยว 25,300 หน่วย ทาวน์เฮาส์ 11,100 หน่วยอาคารพาณิชย์ 1,800 หน่วย และบ้านแฝด950 หน่วย โดยในกลุ่มที่อยู่อาศัยทั้งหมดนี้ ในส่วนที่จะได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เกิดขึ้นจากปัญหาแผ่นดินไหวคือ กลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดคอนโดมิเนียม

ที่มา :ฺำ Bestbuycondo
ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน

แสดงความคิดเห็น

Designed by OddThemes | Distributed by Gooyaabi Templates