![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEght0GGRIQCuXxC1sM-eclU6ZUH9ZtBAoq9ZyxEx9GQ1GjpF7-tSxSqN2QPwOxLj6h1Wtk9xFwlc4W-wdw5Tuf7DICtTV5IpL79SJUsoNEiJiwPawYcS7W_aCObiDXFv7eeaVuInS_3uYA/s400/B1.jpg)
ทั้งนี้ ยังมีความน่าเป็นห่วงจุดก่อสร้างบริเวณสถานีเตาปูน เนื่องจากเป็นส่วนต่อเชื่อมกับสถานีบางซื่อ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) เพราะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างอุโมงค์และทางยกระดับ ซึ่งได้เร่งให้ผู้รับเหมาออกแบบรายละเอียดและกำหนดวิธีการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน เม.ย.นี้ โดยหลังจากแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนแล้ว คาดว่าการเวนคืนจะเสร็จทั้งหมด 100% ภายในสิ้นเดือน พ.ค.นี้ โดยบริเวณด้านหลังโลตัส เตาปูน จะเข้าพื้นที่ได้ในวันที่ 10 เม.ย. 2554 และจุดสุดท้าย บริเวณสะพานพระนั่งเกล้าจะเข้าพื้นที่ในวันที่ 28 พ.ค. 2554 ซึ่งเชื่อว่าผู้รับเหมาคงเร่งดำเนินการเต็มที่ เพราะหากล่าช้ากว่าสัญญาจะถูกปรับถึงวันละ 14 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญาที่ 1 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร กลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) เป็นผู้รับเหมา วงเงิน 14,292 ล้านบาท สัญญาที่ 2 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันตก ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมา วงเงิน 13,100 ล้านบาท
ประธานบอร์ด รฟม.ยังกล่าวถึงการเปิดคัดเลือกเอกชนจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงว่า แม้จะมี 2 บริษัทยื่นข้อเสนอ คือ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ BMCL และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ BTS แต่ถือว่าไม่น้อยเกินไป เพราะเป็น 2 บริษัทที่ มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้าในประเทศไทย ทั้งนี้ในส่วนของการเดินรถจากสถานีบางซื่อ-เตาปูน ซึ่งเป็นสถานีร่วมสายสีม่วงและสีน้ำเงิน ระยะทาง 1กิโลเมตร นั้น หลักการ คือ ให้ BMCL เป็นผู้เดินรถต่อจากส่วนใต้ดินอีก 1 สถานี แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาและเจรจาวิธีการจ้างที่เหมาะสมที่สุด
ที่มา : Bestbuycondo
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
แสดงความคิดเห็น